วันครู

วันครู


ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆ ปี เป็น "วันครู" และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ

ความหมายของครู

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู

ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

ประวัติความเป็นมา

วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ






บทสวดเคารพครู

(สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

(สวดทำนองสรภัญญะ)

(สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์

โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน

จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน

เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม

ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม

กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ

คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

(กราบ)

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู

เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมวันครู

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น



ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงานวันครูพร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ

คำปฏิญาณตนของครู

ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน


รายชื่อประเทศที่มีวันครู

ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด

- อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
- มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
- ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด

- แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
- จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
- สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
- ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
- โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
- รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
- สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
- สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
- ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
- ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
- สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
- เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน

ภาพกิจกรรมวันครู













ภาษาถิ่นอีสาน


ภาษาถิ่นอีสาน


ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์มีชายแดนติดกับเขมรสำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วยทางด้านจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่งชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบันเช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นแต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่ง
หนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือลักษณะของคำและความหมายต่างๆที่ยังคงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาคด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดีถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกันแต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน

ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้นเพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษา
ไทยกลางหากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้วแต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วยทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนาแต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปีชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจาก
จะหางานทำแล้วก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัวจะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสานทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้

ผญา
คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)ปัญญาปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบสติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญามาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็นโผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจจะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้ผญาคือคำคมสุภาษิตหรือคำพูดที่เป็นปริศนาื คือ ฟังแล้วต้องนำมาคิดมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่าหมายถึงอะไร ผญาเป็นคำพูดที่คล้องจองกันซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไปแต่เวลาพูดจะไพเราะ สละสลวยและในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วยผญาเป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบสติปัญญามีเชาวน์มีอารมณ์คมคายพูดสั้นแต่กินใจความมากการพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจการพูดคุยด้วยคารมคมคายซึ่งเรียกว่าผญานั้นทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญาความสนุกเพลิดเพลินยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้เกิดความรักด้วยจึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อนนิยมพูดผญากันมาก
และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้งล้ำลึกสามารถผูกมัดจิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้นผญาจึงเป็นเมืองมนต์ขลังที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่นลึกซึ้งลงไปภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้างตื้นบ้างหยาบก็มีละเอียดก็มีถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆโปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะ สมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง การจ่ายผญา หรือการแก้ผญา การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมึผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไปเป็นการพูดธรรมดาไม่มีการเอื้อนเสียงไม่มีทำนองแต่เป็นจังหวะมีวรรคตอนเท่านั้นผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถามฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบหรือจ่ายผญาด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่าลำผญาหรือลำผญาญ่อยเช่น(ชาย).....อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำถามข่าวถึงปลาอยากถามข่าวนาถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่ม(หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแตสอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่มพัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มีหมอผญาทีควรกล่าวถึงในที่นี้ คือ แม่ดา ซามงค์ แม่สำอางค์ อุณวงศ์ แม่เป๋อ พลเพ็ง แม่บุญเหลื่อม พลเพ็ง แห่งบ้านดอนตาล อำเภอดอนตาลจังหวัดมุกดาหาร เป็นต้นการลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญาและหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆก็นั่งเป็นวงล้อมรอบหมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วยส่วนผู้จ่ายผญาจะไม่มีการฟ้อนในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วยเช่นเวลาลงข่วงหมอลำชายจะลำเกี้ยวฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไปนอกจากหมอลำหมอแคนแล้วบางครั้งจะมีหมอสอยทำการสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไปทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนานการจ่ายผญาในครั้งแรกๆนั้นเป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลง ให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่า แคนประกอบจนกลายมาเป็น"หมอลำผญา"ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30-40 ปีมานี้เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้นจากการนั่งจ่ายผญา ซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัดและไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ)จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วยจากดนตรีประกอบี่มีเพียงแคนก็ได้นำเอากลองฉิ่งฉาบและดนตรีอื่นๆเข้ามาประกอบจากผู้แสดงเพียง2คนก็ค่อยๆเพิ่มเป็น3,4และ5คนจนมารวมกันเป็นคณะเรียกว่าคณะหมอลำผญาบางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วยประเภทของผญา ผญาเมื่อแบ่งแยกหมวดหมู่ออกไปอย่างคร่าว ๆ ก็สามารถแบ่งออก ได้เป็น 5 ประเภท คือ
1. ผญาคำสอน
2. ผญาปริศนา
3. ผญาภาษิตสะกิดใจ
4. ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป
5. ผญาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบหนุ่มสาว
6. ผญาหมวดภาษิตคำเปรียบเปรยต่างๆ
7. ผญาปัญหาภาษิต




ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www4.msu.ac.th/satit/studentProj/

2548/Selectted/M104/g11-I-sanNatural/index7.html


อาหารพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน


ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆ
ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง
ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน





อาหารพื้นบ้านอีสานที่มีชื่อเสียง ได้แก่

ตำส้มหรือส้มตำ
มีหลายแบบ เช่น ตำมะละกอ ตำแตงร้่าน ตำถั่วฝักยาว ใส่มะกอกเพิ่มรสเปรี้ยว ใส่ปลาร้าเพิ่มรสเค็ม เพิ่มรสเผ็ดด้วยพริก




แจ่วบอง
หมายถึง ปลาร้าสับใส่เครื่องเทศ พริก หอมกระเทียม คั่วคลุกเคล้าให้เข้ากัน





มั่ม
คือไส้กรอกอีสาน ใช้เนื้อวัวสับหรือตับที่เรียกว่า "มั่มตับ" นำมายัดใส่ในกระเพาะปัสสาวะของวัว คนอีสานนิยมทอดหรือย่าง จิ้มกับน้ำพริกหรือแจ่วรับประทาน เสน่ห์อาหารพื้นบ้านอีสานอยู่ที่รูปแบบการปรุง วัตถุดิบ เครื่องปรุงรสชาติ ปลาร้าที่นำมา ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอาหารของคนอีสานอันเป็นลักษณะเฉพาะถิ่น เป็นสำรับอาหารที่คนทั่วไปยอมรับในความอร่อยและอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ







ขอบคุณข้อมูลจากhttp://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/
wilaiporn/__81.html

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้