ระบบความปลอดภัย
1.Encryption เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัส ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเทเอร์เนต หรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นระบบนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปบนอินเทอร์เนต
2.Authentication เป็นระบบตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบว่า เป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้ โดยให้แจ้งข้อมูล Password ของผู้ได้รับอนุญาต
3.Firewalls เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hard และ Software โดย Firewalls จะวางอยู่ระหว่าง เครือข่ายภายในองค์กร (Local Network) และ เครือข่ายภายนอก (Internet) เพื่อป้องกันการบุกรุกจากจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Hacker) โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)
4.PKI System (Public Infrastructure) เป็นกลุ่มข้อ Security Services ซึ่งปกติจัดให้โดย Certificate (CA), Authentication, Encryption และ Certificate Management ใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุณแจสาธารณะ
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce/
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
(1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
(2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
(3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
(4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
(5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้ ้
(1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
- การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
- ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก
(2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
- การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
- การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
(3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
- การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
- การจัดการสินค้าคงคลัง
- การจัดส่งสินค้า
- การจัดการช่องทางขายสินค้า
- การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
(1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
(2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
(3)อินเตอร์เนตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
(4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
(6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
(7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต
(2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
(1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม
(2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท
(3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.atii.th.org/html/ecom.html
E-Commerce
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป
การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย
ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต
http://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce/
HANDS Bangkok Countdown 2010
ชื่องาน : HANDS Bangkok Countdown 2010
ระยะเวลาในการจัดงาน : 18-31 ธันวาคม 2552
สถานที่ : หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริ
แนวคิดหลัก : HANDS by Heart
ธีมงาน : Happy Town Party
จัดโดย : CM Event / CMO Group, Central World
สนับสนุนการจัดงานโดย : พานาโซนิค / สปาย / มาม่า / ยามาฮ่า และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
About HANDS Bangkok Countdown 2010
กว่า 300,00 คนร่วมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ร่วมกัน นับแต่ปี2008และ2009 เป็นการตอกย้ำที่สำคัญว่า เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ HANDS Bangkok Countdown เป็นเทศกาลสากลที่ประชาชนให้ความสำคัญ ถือเป็นงานใหญ่สุดท้ายของปี เพื่อย่างเข้าสู่ปีใหม่ด้วยความเบิกบานอีกทั้งยังเป็นเทศกาลแห่งความสุข รอยยิ้ม และความยินดี งาน HANDS Bangkok Countdown 2010 จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 และเป็นศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีของชาวไทยและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพราะเราเชื่อมั่นว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองซึ่งเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยวแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งรอยยิ้มและความสวยงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยสีสัน ความสะดวกสบายและความทันสมัยอย่างครบครัน ท่ามกลางการแวดล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ระบบการคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมายเพื่อพร้อมที่จะรองรับมหาชนที่จะเข้าร่วมงานในวันนั้น
การจัดงานในปีนี้ประกอบด้วยการจัดสร้าง Landmark รูปแบบใหม่ “The HANDS Tower” LED Screen แนวตั้ง ที่มีขนาดสูงที่สุดในกรุงเทพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการนับเวลาถอยหลัง และสร้างความตื่นตาตื่นใจในช่วงเวลาเคาท์ดาวน์ยิ่งขึ้น Landmark จะถูกนำมาติดตั้งในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบันเทิงจากกลุ่มศิลปินชื่อดังจากค่ายต่างๆบนเวทีขนาดใหญ่ อันจะเป็นการส่งเสริมภาพแห่งการเฉลิมฉลองได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
ด้วยความสำเร็จของ HANDS Bangkok Countdown ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานปีละกว่า 300,000 คน บริเวณหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริรวมถึงความประทับใจที่ถ่ายทอดสู่ผู้ชมทางบ้านกว่า 30 ล้านคน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เต็มอิ่มกับกิจกรรมบันเทิงจากศิลปินดารามากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ก่อนวันงานเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันความสุขและรอยยิ้ม เพื่อก้าวสู่ช่วงเวลาสำคัญของปีอีกด้วย
สำหรับงาน HANDS Bangkok Countdown 2010 ในปีนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-31 ธันวาคม 2552 หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริ
มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรวมพลัง ประสานมือ ประสานใจ กับการนับถอยหลังร่วมกันเพื่อก้าวสู่ศักราชใหม่ และมาทำให้ปีใหม่ของคุณ พิเศษกว่าใครใน HANDS Bangkok Countdown 2010 นี้ โดยผู้ชมทางบ้านสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่เวลา 22.30 – 01.00 น.
HANDS by Heart Values
ความหมาย : คล้องมือ คล้องใจ ผูกพันเราไว้ด้วยกัน
รูปแบบ : ช่วงเวลานับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ ผู้คนนับแสนคนคล้องมือกันร่วมกับผู้คนทั่วประเทศและผู้คนทั่วโลก เพื่อเป็นกำลังใจให้กันเพื่อก้าวสู่ปีใหม่ร่วมกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.handsbangkokcountdown.com
http://images.google.co.th/imglanding
http://travel.sanook.com/countdown-2010-861632.html