อาหารพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน


ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆ
ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง
ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน





อาหารพื้นบ้านอีสานที่มีชื่อเสียง ได้แก่

ตำส้มหรือส้มตำ
มีหลายแบบ เช่น ตำมะละกอ ตำแตงร้่าน ตำถั่วฝักยาว ใส่มะกอกเพิ่มรสเปรี้ยว ใส่ปลาร้าเพิ่มรสเค็ม เพิ่มรสเผ็ดด้วยพริก




แจ่วบอง
หมายถึง ปลาร้าสับใส่เครื่องเทศ พริก หอมกระเทียม คั่วคลุกเคล้าให้เข้ากัน





มั่ม
คือไส้กรอกอีสาน ใช้เนื้อวัวสับหรือตับที่เรียกว่า "มั่มตับ" นำมายัดใส่ในกระเพาะปัสสาวะของวัว คนอีสานนิยมทอดหรือย่าง จิ้มกับน้ำพริกหรือแจ่วรับประทาน เสน่ห์อาหารพื้นบ้านอีสานอยู่ที่รูปแบบการปรุง วัตถุดิบ เครื่องปรุงรสชาติ ปลาร้าที่นำมา ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอาหารของคนอีสานอันเป็นลักษณะเฉพาะถิ่น เป็นสำรับอาหารที่คนทั่วไปยอมรับในความอร่อยและอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ







ขอบคุณข้อมูลจากhttp://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/
wilaiporn/__81.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

calendar

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้